วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

โครงงานห้อง หมาดวิทยาศาสตร์ บทที่2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ชื่อพื้นเมือง : กงกอน (เพชรบุรี, ชุมพร), โกงกางนอก กงกางนอก (เพชรบุรี), กงเกง (นครปฐม), กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้), โกงกางใบใหญ่ (ภาคใต้), ลาน (กระบี่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ชื่อสามัญ : Red Mangrove
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น รากค้ำยันแตกแขนงระเกะระกะ เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะหลุดร่วงไปเหลือกลุ่มใบที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรีกว้าง มีติ่งแหลมเล็ก แข็ง สีดำ ที่ปลายใบ แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆ สีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง ช่อดอกออกตามง่ามใบที่ใบติดอยู่หรือร่วงไป ดอกตูมรูปไข่ มีใบประดับรองรับที่ฐานดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย ผลคล้ายรูปไข่ปลายคอดสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียว ค่อนข้างตรง ปลายเรียวแหลมยาว ผิวเป็นมัน สีเขียว มีตุ่มขรุขระทั่วไป

การกระจายพันธุ์ : ฝั่งทะเลตะวันออกของแอฟริกา เอเชีย ภูมิภาคมาเลเซีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกจนถึงหมู่เกาะตองกา
สภาพนิเวศน์ : ป่าชายเลนตามฝั่งทะเลทั่วไป ขึ้นเป็นกลุ่มเดียวล้วนๆ ในที่มีดินเลนอ่อนและลึก บริเวณฝั่งแม่น้ำหรือคลองด้านนอกที่ติดกับทะเลที่มีตะกอนของสารอินทรีย์สะสมค่อนข้างหนาจนเกือบเป็นสีดำและมีกลิ่นเหม็นคล้ายไข่เน่า
ประโยชน์ : ใช้ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง มีความทนทาน ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล ใช้ทำถ่าน เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด

ลักษณะของโกงกางใบใหญ่
ต้นโกงกางใบใหญ่ จะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร (บ้างก็ว่าสูงประมาณ 30-40 เมตร) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเหนือคอ ราก เมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง ด้านรับแสงจะมีกิ่งก้านมาก เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลเทา เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นๆ ส่วนเปลือกในเป็นสีส้ม ในกระพี้เป็นสีเหลืองอ่อน และแก่นเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้ฝักโดยตรง โดยใช้ฝักแก่ที่ยังสมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงเข้ามาทำลาย โดยดูได้จากบริเวณรอยต่อของฝักกับผลจะมีปลอกสีขาวอมเหลืองหุ้มอยู่ ถ้าหากมีขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร และเป็นสีเหลืองแสดงว่าฝักแก่สมบูรณ์แล้ว หรือจะเก็บฝักที่ร่วงหล่นลงน้ำก็ได้ เพราะถ้าฝักแก่สมบูรณ์จะลอยน้ำได้ เมื่อได้ฝักมาแล้วก็ให้นำมาปลูกในทันที เพราะถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ความสามารถในการงอกก็จะลดลงไปเรื่อยๆ
ลักษณะของรากของโกงกางใบใหญ่
รากโกงกางใบใหญ่ มีรากเป็นแบบค้ำจุนขนาดใหญ่ โดยจะงอกจากลำต้นออกเป็นจำนวนมาก ดูไม่เป็นระเบียบ เพราะแตกแขนงระเกะระกะ และมีลักษณะเป็นทรงเรือนยอดรูปกรวยคว่ำแบบแคบๆ
ลักษณะของใบโกงกางใบใหญ่
ใบโกงกางใบใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตรงข้ามกัน โดยใบแต่ละคู่จะออกแบบสลับทิศทางกัน ใบมีลักษณะเป็นรูปใบมนค่อนไปทางรูปหอก ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแข็งเล็กๆ ส่วนฐานใบสอบเข้าหากันคล้ายกับรูปลิ่ม หน้าใบเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนหลังใบเรียบเกลี้ยงและเป็นสีเขียวอมเหลือง และหลังใบยังมีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ เห็นได้ชัดเจนอยู่ทั่วหลังใบ โดยใบมีความกว้างประมาณ 5-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-18 เซนติเมตร ส่วนก้านใบยาวประมาณ 2.5-5.5 เซนติเมตร และยังมีหูใบสีแดงเข้มยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร หุ้มใบอ่อนไว้
ลักษณะของดอกโกงกางใบใหญ่
ดอกโกงกางใบใหญ่ ออกดอกเป็นช่อแบบ Cymes ในแต่ละช่อดอกจะประกอบไปด้วยดอกประมาณ 2-12 ดอก ดอกมีสีขาวอมสีเหลือง มีกลีบอยู่รอบดอก มีอยู่ด้วย 4 กลีบ ลักษณะของกลีบรอบกลีบดอกเป็นรูปไข่ ส่วนโคนกลีบติดกัน ส่วนกลีบดอกเป็นรูปใบหอก มีความยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบของกลีบดอกจะมีขนยาวขึ้นปกคลุมอยู่ และดอกจะมีเกสรตัวผู้จำนวน 8 อัน ยาวประมาณ 0.5-0.8 เซนติเมตร
สรรพคุณของโกงกาง
1.ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใช้เปลือกต้มกับน้ำดื่ม)
2.ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
3.ช่วยแก้บิด บิดเรื้อรัง โดยใช้เปลือกนำมาต้มกับน้ำดื่ม หรือจะใช้น้ำจากเปลือกนำมากินแก้อาการก็ได้เช่นกัน
4.เปลือกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาสมาน (เปลือก)
5.ใช้เปลือกตำแล้วนำมาพอกช่วยห้ามเลือดได้ดี หรือจะใช้ใบอ่อนเคี้ยวหรือตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบาดแผลสดและห้ามเลือดก็ได้เช่นกัน (ใบ,เปลือก)บ้างก็ว่าน้ำจากเปลือกก็ใช้ชะล้าแผลและห้ามเลือดได้เช่นกัน (น้ำจากเปลือก)
6.เปลือกนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง หรือจะใช้น้ำจากเปลือกก็ได้ (เปลือก,น้ำจากเปลือก)
ประโยชน์ต้นโกงกาง
ไม้โกงกาง มีลักษณะเปลาตรง เป็นไม้ที่มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน จึงเหมาะสำหรับการนำมาแปรรูปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้าน หรือใช้ทำไม้เสาเข็ม ไม้ค้ำยันต่างๆ ทำเสาและหลักในที่มีน้ำทะเลขึ้นถึง ทำเยื่อกระดาษ
ประโยชน์ไม้โกงกางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการนำมาใช้ทำเป็นฟืนและถ่านเกรดคุณภาพดี ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูงและนาน (ให้ค่าความร้อนประมาณ 6,600-7,200 แคลอรี) อีกทั้งยังมีขี้เถ้าน้อยและไม่เกิดสะเก็ดไฟเมื่อนำมาใช้งานอีกด้วย
เปลือกของต้นโกงกางมีสารแทนนินและฟีนอลจากธรรมชาติสูงมาก อีกทั้งยังมีราคาถูกที่สุด ซึ่งสารดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำยา ทำหมึก ทำสี ใช้ในการฟอกหนัง ใช้ทำกาวสำหรับติดไม้ เป็นต้น
เปลือกมีน้ำฝาดประเภท Catechol ให้สีน้ำตาลที่สามารถนำมาย้อมสีผ้าได้ เช่น ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ
ป่าโกงกางมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสัตว์ทะเลต่างๆ เนื่องจากเป็นที่วางไข่และฟักตัวอ่อน และเป็นแล่งที่มีสภาพสมดุลทางธรรมชาติสูงมาก

ป่าไม้โกงกาง สามารถช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลจากการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ และยังใช้เป็นแนวกำบังคลื่นลมที่เคลื่อนเข้ามาปะทะชายฝั่งได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น